สู้เพื่อวันที่ดีกว่า

บางคราวเหนื่อย บางคราวท้อ บางคราวไม่มีเรี่ยวแรงที่จะสู้ แต่บางสิ่งบางอย่างก็ทำให้มีแรงผลักดัน ทำให้มีกำลังที่จะฝ่าฟันต่ออุปสรรคที่เข้ามารุมเร้า และผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แรงผลักดันที่ว่านี้ คือ คำพูดที่พูดกับตัวเองเสมอว่า ชีวิตเราต้องดีกว่านี้ พูดกับตัวเองเป็นร้อยครั้ง พันครั้ง แล้วก็มองไปรอบข้างตัวเอง ว่าเราถึงไหนแล้ว ผมดีใจที่มีวันนี้ วันที่ผมยืนได้ด้วยตัวของผมเอง แล้วผมสัญญากับตัวเองว่า "จะต้องดีกว่านี้"

thechamp999

thechamp999
แชมป์ อภิชาติ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553











สกา รึ เร้กเก้ ?










การฟังเพลง ทุก ๆ คนมีความชอบไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็มีแนวเพลงที่ชอบเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวเพลง อินดี้ สากล ลูกทุ่ง หมอลำ ช่วงนี้ต้องเอาใจคนที่ชอบแนวเพลง สกา เร็กเก้ บางคนยังฟังไม่ออกว่าแนวเพลงสกาเร็กเก้ เป็นอย่างไร เพลงไหนเป็นสกา เพลงไหนเป็น เร็กเก้ คงมีคำถามอยู่ในใจกันใช่ไหมครับ! ผมได้ศึกษาแนวเพลงนี้มาสักระยะหนึ่ง จึงจะมาถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ จำกันง่าย ๆ แนวเพลง เร็กเก้ จะมีการร้องลำทำเพลงในฤดูร้อน จะร้องในทำนองที่ไม่เร็วมากนัก เนื้อหาของเพลงส่วนมาก เร้กเก้ คือเพลงแห่งความรัก จะเป็นรักเพื่อน รักแฟน รักโลก หรือว่า เนื้อหาเกี่ยวกับ อิสรภาพ แต่ถ้าเป็นเพลง สกา จะขับร้องกันในฤดูหนาว เป็นแนวเพลงที่ไว ทำให้สนุกมีการเต้น ทำให้ร่างกายได้ขยับขยายสายเอวไปมา ในเนื้อเพลงนั้นจะมีคำว่า ฮิ ฮิ ฮิ ฮิ….. ให้สันนิฐานเลยว่าเป็นเพลงสกา



สกา (Ska) เป็นแนวเพลงที่เกิดในประเทศจาไมก้า ช่วงปลายทศวรรษที่ 50 ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็น rocksteady และ เร้กเก้ เพลงสกา เป็นการรวมองค์ประกอบเพลงแถบคาริบเบียนอย่าง เม็นโต และ คาลิปโซ เข้ากับ แจ๊ซทางฝั่งอเมริกา กับอาร์แอนด์บี มีลักษณะพิเศษตรงไลน์เบส สำเนียงกีตาร์ และจังหวะเปียโนที่ดูแตกต่างไป สิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างคือมีการใช้เครื่องเป่า (อย่างแจ๊ซ) เช่น แซกโซโฟน, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน เป็นต้น และทศวรรษที่ 60 สกาถูกหมายถึงแนวดนตรีของ Rudeboy ในสหราชอาณาจักร สกาได้รับความนิยมในกลุ่ม ม็อดและพวกสกินเฮด
เพลงสกา จังหวะการดีดกีต้าร์ เรียกว่าการ skanking ลายเบส ที่หลากหลาย แล้วก็ เครื่องเป่า ( Brass section ) อาจมีเครื่องดนตรีหลายชิ้น ดนตรีสกา ในยุคแรกๆ เค้าเล่นตาม งานแต่งงาน ปาตี้ หลังบ้าน ของชาว จาเมก้า ในช่วงนั้น เข้าใจว่าเป็นยุค ประมาณปี ค.ศ. 1959 ตอนนั้น ยังไม่มีเร้กเก้ครับ จริงๆแล้ว ดนตรีเร้กเก้ พัฒนา มาจาก ดนตรี สกาอีกที่ครับ ก่อนหน้าเร้กเก้จะมีแนวRocksteady จะมีจังหวะที่ ช้า กว่า สกา ครับ เน้นไปทางเสียงเครื่องสาย แล้วก็เสียงสังเคราะห์ครับ ( เป็นช่วงแรกที่สกา ข้ามไปอเมริกา เป็นต้นกำเนิด Rocksteady นั่นเอง)




เร้กเก้ (reggae) เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร้กเก้สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของแอฟริกัน-แคริบเบียนที่มีพอๆ กับดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ของอเมริกัน เร็กเก้ เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริธึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้ง เร้กเก้นั้น พัฒนามาอีกที จาก rocksteady มีการใส่ ความหลากหลายทางดนตรีเข้าไป เช่น ซาวด์ดนตรี แอฟริกัน แคริบเบี้ยน อเมริกัน-ริทึ่ม และ บลู ฯลฯ เร้กเก้ มาบูมตอน ช่วงยุค 1963-1971 ตอนนั้น โลกเราได้เจอ ศิลปินที่ยิ่งใหญ่คนนึง Bob Marley(& The wailers) ดนตรีเร้กเก้ ฝรั่งสมัยก่อน เรียกว่า จังหวะ สะกดคนดู เพราะ เร้กเก้ ให้ความสำคัญกับ จังหวะ ริทึ่มมากกว่า ส่วนอื่นๆ มีการลดความเร็วเทมโป้ จาก rocksteady ให้ช้าลง
ประวัติของดนตรี สองแบบนี้ ผมขอพาย้อนกลับไปสมัยที่ ชาวยุโรป ผิวขาว ค้นพบเกาะ จาเมก้าปี ค.ศ. 1494 โ ดยต่อมา อังกฤษได้อภิสิทธิ์ ให้ได้รับการอพยพ ทาสผิวดำจากแอฟริกากว่า 2 ล้านคน มาสู่ดินแดน แห่งนี้ (คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเป็นผู้พบเกาะนี้) เป็นเจ้าแรกครับเหตุผลที่มาก็เพราะ ต้องการ พื้นที่ เพาะปลูก เพื่อจะได้มีผลผลิตรองรับปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้นแล้วก็เพื่อขยายอาณาณิคม ตามระเบียบ (จริงๆแล้วก่อนหน้านี้มีชนพื้นเมือง อาศัยอยู่ที่นี่มากว่า 4000-1000 BC หรือประมาณกว่า 6000 พันปีก่อนโน่น เรียกว่า อราวัค (Arawak) และ ตาอิโน่ (Taino) ) ต่อครับ ในจำนวนบรรดาทาสผิวดำ ก็มี นักดนตรีผิวดำด้วยแน่นอน นักดนตรีพวกนี้ ตอนแรกจะถูกใช้ให้เล่น ให้ความสำราญกับเจ้านายผิวขาว ต่อมา เจ้านายผิวขาวก็เริ่มมีการอนุญาติให้สามารถเล่นดนตรีเป็นงานประจำหมู่บ้านสำหรับทาสได้ เพราะหวังว่า จะทำให้ผลผลิตเร็วขึ้น เวลาล่วงมาจนถึง ยุค 1834 เสียง Ch-Ka-Ch-Ch (ทำเสียงเองนะ) hup, hup, hup... ที่เกิดจากการเปล่งเสียงเป็นจังหวะของเสียงร้อง ก็เริ่มได้ยินได้ฟังในจาเมก้า Mento คือ ส่วนผสมของดนตรี แอฟริกา กับ ยุโรปครับ ได้รับความนิยมในยุค 1950 มากๆ เป็นดนตรีที่พัตนามาจากวงที่เล่นตามท้องถนนในยุคนั้น เพราะว่า ใช้เครื่องดนตรีที่มีความสะดวกในการพกพาอย่างเช่น กีต้าร์ เบนโจ คาริมบ้า(เ ปียโน) บองโก้ นักดนตรีแนว mento นี้มีความคล้ายกับแนว Caribbean Rhumba การมาถึงของ วงโ ยธวาทิตของนาวิกโยธิน อังกฤษ ซึ่งเป็นวง เครื่องทองเหลือง (เครื่องเป่า) เรียกว่า Brass Band ต่อมาได้มีการบรรจุวิชาดนตรี เข้าไปใน โรงเรียนประจำเมือง คิงส์ตัน เมืองหลวงของจาเมก้า โรงเรียนแห่งนี้ชื่อ Alpha Boy นักดนตรีที่จบจากโรงเรียน อัลฟ่า บอย ส่วนมาก ออกไปเล่นดนตรีที่ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นวง Jazz Big band และ Rhythm and Blues (R&B) ดนตรีก็คือปืนกระบอกใหญ่ที่สุด แต่มันปลอดภัย เพราะมันไม่ฆ่าใคร ถูกไหม? ต่างจากปืนที่มันจะระเบิดหัวคุณ” ไม่มีคำบรรยายอื่นใดอีกแล้วในโลกนี้ ที่จะสื่อให้เห็นภาพ “พลังสันติภาพ” ของดนตรีเร้กเก้-สกา ได้อย่างชัดเจนและทรงพลัง เช่นที่ราชาแห่งเพลงเร้กเก้และพระเจ้าของคนผิวสี นาม บ็อบ มาเลย์ กล่าวไว้ เรื่องของชายผู้เป็นตำนาน... ขับขานบทเพลงแห่งภราดรภาพ บ็อบ มาเลย์ กล่าวประโยคอมตะที่ว่านั้น ต่อผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง หลังได้รับมอบเหรียญสันติภาพแห่งประเทศโลกที่สามจากผู้แทนองค์การสหประชาชาติ แต่แม้ไม่ได้รับมอบเหรียญเกียรติยศใดๆ บ็อบก็จะยังคงจากโลกนี้ไปในฐานะ “พระคริสต์” หรือ “ผู้ปลดปล่อย” ของชาวจาเมกัน ชาวแอฟริกัน และชาวผิวสีอีกหลายล้านชีวิตทั่วโลก หากถามว่าสิ่งใดคือ “อาวุธ” หรือ “เครื่องมือ” ที่เขาใช้ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกพี่น้องร่วมชาติพันธุ์ให้พ้นจากการกดขี่ของคนขาว คำตอบมิเพียงปรากฏอยู่ในถ้อยคำที่ตอกย้ำว่า ดนตรียืนอยู่ขั้วตรงข้ามกับปากกระบอกปืนที่มนุษย์ใช้ปลิดชีพมนุษย์ หากแต่เป็นท่วงทำนองของบทเพลงที่บ็อบและผองเพื่อนวง เดอะ เวลเลอร์ส ร่วมบรรเลงขับกล่อมโลกนี้ตลอดช่วงชีวิตของพวกเขาต่างหากที่เปรียบเสมือนอาวุธอันทรงพลานุภาพยิ่งกว่าขีปนาวุธใดๆ


แม้เป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษแล้ว ที่บ็อบจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 36 ปี กระนั้นหลายสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเขายังคงมีลมหายใจโลดแล่น ดำรงอยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าจังหวะทำนองอันเปี่ยมเสน่ห์ของเพลงเร็กเก้ ผมทรงฟั่นเชือกหรือ Dread Lock ที่ไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์เพื่อสดุดีองค์จักรพรรดิไฮเลเซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปียผู้ได้รับการยกย่องเป็นอัครศาสดาแห่งลัทธิรัสตาฟาเรียน ลัทธิที่ทรงอิทธิพลต่อบ็อบ และคนผิวสีหลายล้านคนในจาเมกา หากยังสื่อให้เห็นถึงความอหังการและเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสูงของบ็อบ ที่ปวารณาตนเป็นราชสีห์แห่งจูดาห์ เจ้าป่าผู้อยู่เหนือชีวิตทั้งมวล เฉกเดียวกับที่องค์จักรพรรดิและอัครศาสดาแห่งรัสตาฟาเรียนได้รับเกียรตินั้น แต่ใครเล่าจะเอ่ยปากคัดค้านว่าบ็อบไม่คู่ควร ในเมื่อทุกครั้งที่เขาขับกล่อมเพื่อนมนุษย์ด้วยบทเพลงอันเปี่ยมมนต์ขลัง เขาดูไม่ต่างจากสิงหราชที่กำลังสะบัดแผงคอ ก่อนจะแผดเสียงคำรามกึกก้องและน่าเกรงขาม ชาวรัสตาที่แท้จึงมิได้ไว้ผมทรงฟั่นเชือกเพียงเพื่อความโก้เก๋ หากเพื่อแสดงถึงความกล้าหาญแห่งจิตใจ และพร้อมจะถ่อมตนต่อผืนดินไม่ต่างจากราชสีห์ที่รู้วาระอันเหมาะสม ไม่ทำลายเหยื่อเพียงเพื่อสนองกิเลสของตน ปัจจุบันในท่ามกลางยุคบริโภคนิยม ยังมีชาวรัสตาจำนวนไม่น้อยที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ปฏิเสธการทำงานเพื่อรับเงินค่าจ้าง เชื่อมั่นในสิทธิและความเท่าเทียมของเพื่อนมนุษย์ หากขณะเดียวกันก็ยืนหยัดรักษาสิทธิของการไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่ยอมให้การเมืองจูงจมูก หลายคนยังทำสมาธิผ่านการดูดกัญชา ด้วยเชื่อว่ามันเป็นพิธีกรรมสำคัญที่นำพวกเขาเข้าสู่การดิ่งลึกทางจิตวิญญาณ มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับบ็อบ มาเลย์ อีกมากมายเกินจะนับ แต่สำคัญเหนืออื่นใดคือลมหายใจแห่งดนตรีเร้กเก้ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง แม้การปฏิวัติเรียกร้องสิทธิของคนผิวสีทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเมื่อราวปลายทศวรรษ 1960 จะกลายเป็นอดีตและดำรงอยู่ในฐานะ “บทบันทึกแห่งประวัติศาสตร์” แต่บทเพลงของบ็อบที่ร่วมยืนหยัดเรียกร้องสันติภาพและภราดรภาพในครานั้น ยังคงโลดแล่นขับกล่อมผู้คนทั่วโลกตราบจนวันนี้ เพลง “No Womam No Cry” ที่บ็อบส่งน้ำเสียงของอดีตเด็กสลัมแห่งย่านเทรนช์ทาวน์ซึมซาบเข้าสู่หัวใจคนฟัง คล้ายจะเป็นเพลงชาติของสาวกเร้กเก้หลายล้านชีวิต ไม่ต่างจาก Redemtion Song, Get Up Stand Up และแทบทุกบทเพลงของบ็อบกับผองเพื่อน เดอะ เวลเลอร์ส ที่กาลเวลาไม่อาจลดทอน หรือทำลายมนต์เสน่ห์ใดๆ ให้ด้อยลง ในหน้าประวัติศาสตร์ของดนตรีพื้นเมืองจาเมกาอย่าง “เร้กเก้” ไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าบ็อบ มาเลย์ คือตำนานผู้ปลุกให้ชาวอเมริกันและคนทั้งโลกหันมาฟังพวกเขา แต่ก่อนการมาถึงของบ็อบ ก่อนการกำเนิดของเร้กเก้ รากที่แท้จริงนั้นยึดโยงอยู่กับจังหวะดนตรีที่ดิบกว่า สดกว่า เร้าอารมณ์ได้อย่างรุนแรง ทรงพลังและ...ซื่อตรงยิ่งกว่า จังหวะดนตรีดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า “ สกา ” (SKA) ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 หากถามว่าชาวสลัมทั้งในย่านเทรนช์ทาวน์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของบ็อบ และแหล่งสลัมอื่นๆ ในประเทศยากจนอย่างจาเมกาเมื่อราวทศวรรษ 1960 รับฟังเพลงจากสถานีตามคลื่นวิทยุต่างๆ ด้วยวิธีไหน คำตอบที่มีการบันทึกไว้ทำให้เราเห็นถึงวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของพวกเขาที่เพียงแค่ต้องการเสียงดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ความสุนทรีและความรื่นรมย์ของชีวิต พวกเขาใช้เพียงรถแวนหรือรถบรรทุกบรรจุแผ่นเสียงจำนวนมากทั้งจากฝั่งอเมริกาและจาเมกา พร้อมด้วยสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือเครื่องเสียงสเตอริโอทันสมัย เพียงเท่านี้ “รถดนตรี” ก็ตระเวนจัดงานเต้นรำในสถานที่ต่างๆ ตามสลัมเหล่านั้นได้อย่างไม่ยากเย็น


กล่าวได้ว่า “สกา” เกิดขึ้นจากการหลอมรวมแนวดนตรีอันหลากหลาย ตามที่รถดนตรีเคลื่อนที่คันนี้ส่งเสียงไปถึง คลื่นความถี่จากสถานีวิทยุฟลอริดา หลุยส์เซียนา นิวออร์ลีนส์ และคลื่นจากสถานีวิทยุอื่นๆ ในอเมริกาได้รับความนิยมอย่างสูง ชาวจาเมกาหลงใหลในเพลงโซล ท่วงทำนองเฉพาะตัวของชาวแอฟริกันผิวดำในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็คือดนตรีร็อกแอนด์โรลที่ผสานเข้ากับริธึมแอนด์บลูส์นั่นเอง หลังจากนั้น ชาวจาเมกาก็คิดค้นจังหวะของตนเองขึ้นมา โดยนำร็อกแอนด์โรลผสานเข้ากับดนตรีพื้นเมือง “เมนโต” ของชาวแอฟริกันในจาเมกา หรือในหลายครั้งก็อาจผสานเข้ากับ “คาลิบโซ” ของชาวอเมริกาใต้ การผสมผสานและหลอมรวมที่พวกเขาคิดค้นขึ้นนี้ ก่อให้เกิดเป็นจังหวะดนตรีที่แปลก พิเศษ มีเสน่ห์ในตัวเอง จังหวะที่รวดเร็วคึกคักของมันแพร่หลายได้รับความนิยม กลายเป็นเพลงเต้นรำของชาวจาเมกาทั้งประเทศไปในที่สุด พวกเขาพร้อมใจเรียกดนตรีแนวนี้ว่า “สกา” กระทั่งปลายทศวรรษ 1960 จังหวะที่รวดเร็วของดนตรีสกา ถูกดึงให้เนิบช้าลงกว่าเดิมเล็กน้อย และได้ชื่อใหม่ว่า “ร็อก สเตดี” (Rock Steady) และหลังการมาถึงของร็อก สเตดี ก็คือการกำเนิดขึ้นของ “เร้กเก้” เพลงร็อกในสไตล์จาเมกัน ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นการนำร็อกแอนด์โรลมาปรับให้มีลูกเล่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการผสานเข้ากับท่วงทำนองพื้นเมืองของจาเมกา คล้ายสกาและร็อก แต่เร้กเก้มีจังหวะที่เนิบช้ากว่าแนวดนตรีทั้งสองประเภทนั้น กีตาร์ เบส และกลอง คือเครื่องดนตรีที่เป็นหัวใจสำคัญของเร้กเก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลองสไตล์แอฟริกันที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของจาเมกา ความพิเศษประการหนึ่งของดนตรีเร้กเก้คือ “จังหวะเคาะ” ที่ชวนให้รู้สึกราวกับต้องมนต์ นั่นคือจังหวะ 1 และ 3 ต่างไปจากร็อกแอนด์โรล ที่มีจังหวะเคาะเป็น 2 และ 4 บ็อบเคยทำเพลงในแบบสกาและเป็นที่นิยมอาทิ I’m Still Waiting และ I Need You อย่างไรก็ตาม จังหวะเคาะอันแปลกประหลาดแต่ชวนหลงใหลนี้ ชาวจาเมกาได้รับอิทธิพลมาจากการตีกลองแบบแอฟริกัน ในช่วงแรกที่เพลงเร้กเก้ก่อกำเนิด การยึดมั่นในดนตรีพื้นเมืองมักจะได้รับการยอมรับมากกว่าวงดนตรีที่พยายามขยายฐานผู้ฟังด้วยการเล่นในจังหวะที่ถูกจริตกับชาวต่างชาติ บ็อบ มาเลย์ เองก็เคยถูกมองในแง่ลบ ได้รับคำวิจารณ์ในทำนองว่าละทิ้งความเป็นพื้นเมืองในเพลงของตน ทว่า ความหมายอันลึกซึ้งของบทเพลงที่พวกเขามุ่งนำเสนอก็ได้รับการยอมรับจากชาวจาเมกาในที่สุด และได้แพร่หลายไปยังทั่วโลกนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพูดถึง คงจะพอทราบความเป็นมา และแนวเพลงเร้กเก้ สกา กันแล้วนะครับ อาจจะโดนอกโดนใจสำหรับหนุ่มสาวมาสเซอร์ ผมต้องขอกล่าวคำว่า ขอบคุณทุกท่านที่อ่าน ทั้งให้กำลังใจที่ดีตลอดมา ขอบคุณครับ


ผมแชมป์ อภิชาติครับ
ไม่ว่าคุณจะเร้กเก้ รึ สกา ผมก็รักคุณ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น